สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เที่ยวสนุกทัวร์ โทรสายด่วน 085 384 0228 หรือดาวโหลดโปรแกรมทัวร์นี้ ที่นี่ คลิก |
การเมืองการปกครองของมาเลเซีย |
ระบบการปกครอง มาเลเซียปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ การปกครองเป็นแบบสหพันธรัฐ มีรัฐบาลกลางแห่งสหพันธรัฐ และรัฐบาลของแต่ละรัฐ โดยรัฐบาลกลางตั้งอยู่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซีย ส่วนรัฐบาลแห่งรัฐตั้งอยู่ในแต่ละรัฐ รวมทั้งสิ้น 13 รัฐ โดยมีประมุขของรัฐเป็นสุลต่านหรือผู้ว่าการรัฐดังนี้รัฐที่มีสุลต่านเป็นประมุข จำนวน 9 รัฐ ได้แก่ เปรัค ปาหัง เซลัง-งอร์ เปอร์ลิส เคดาห์ เนกรีเซมบิลัน ยะโฮร์ กลันตัน และตรังกานูรัฐที่มีผู้ว่าการรัฐเป็นประมุข จำนวน 4รัฐได้แก่ปีนังมะละกาซาราวัคและ ซาบาห์นอกจากนี้ยังมีเขตสหพันธรัฐ (Federal Territory) อีก 2 เขต คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ และเกาะลาบวน (อยู่ทางมาเลเซียตะวันออกใกล้กับ บรูไน ดารุสซาลาม) ทัวร์มาเลเซีย
สถาบันกษัตริย์
ประมุขของมาเลเซียภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์ เรียกว่า “สมเด็จพระราชาธิบดี” หรือ “Yang Di-Pertuan Agong” หรือทั่วไปเรียกว่า “อากง” สมเด็จพระราชาธิบดีจะได้รับเลือกจากที่ประชุมของสุลต่านของรัฐทั้ง ๙ รัฐ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี เมื่อครบวาระก็จะมีการเลือกใหม่ โดยที่สมเด็จพระราชาธิบดีองค์เดิมไม่มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งในครั้งต่อไป นอกจากนั้นที่ประชุมยังได้เลือกตั้งรองประมุข ซึ่งเรียกว่า “Timbalay Yangdi Pertuan Agong” ขึ้นดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี เช่นกัน รัฐที่สุลต่านได้รับเลือกเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี จะมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ (Regent) ขึ้นมาทำหน้าที่ในฐานะสุลต่านแทน เว้นแต่ความเป็นประมุขในทางศาสนาอิสลามในรัฐเท่านั้นที่สมเด็จพระราชาธิบดีจะดำรงสถานภาพไว้เช่นเดิม สำหรับสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันนับเป็นองค์ที่ ๑๑ เป็นสุลต่านของรัฐเซลังงอร์ ชื่อ Tengru Salahuddin Abdul Aziz Shah เข้ารับหน้าที่เมื่อ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๒และในปี ๒๕๔๗ สุลต่าน ตวนกู อิสมาอิล เปตรา แห่งรัฐกลันตัน จะขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ ๑๒ ต่อไป
นโยบายภายในประเทศ
ภายหลังได้เอกราชจากอังกฤษ ในปี ๒๕๐๐ นโยบายทางการเมืองของมาเลเซีย ก็ชูธงชาตินิยมมาโดยตลอดโดยพยายามสร้างสัญลักษณ์ประจำชาติในเรื่องต่างๆ ขึ้น นับแต่เพลงชาติ ดอกไม้ประจำชาติ ภาษาประจำชาติ ไปจนถึงรถยนต์แห่งชาติ ทางด้านเศรษฐกิจมาเลเซียเน้นนโยบายการพึ่งตนเอง โดยศึกษาพื้นฐานการพัฒนาจากประเทศในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน ภายใต้นโยบายมองตะวันออก (Look East Policy) สำหรับนโยบายทางด้านสังคมถึงแม้จะมีนโยบายในการสร้างค่านิยมอิสลาม แต่ก็ไม่ได้กระทำอย่างสุดขั้ว เนื่องจากมาเลเซียประกอบขึ้นด้วยคนหลายเชื้อชาติ
นโยบายต่างประเทศ
มาเลเซียดำเนินนโยบายต่างประเทศในเชิงรุกมาโดยตลอด โดยเร่งพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือกับนานาประเทศโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากต้องการเสริมบทบาทนำและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตนในกลุ่มประเทศเหล่านี้ ตลอดจนเพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับประเทศพัฒนาแล้ว |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|