สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เที่ยวสนุกทัวร์ โทรสายด่วน 085 384 0228 หรือดาวโหลดโปรแกรมทัวร์นี้ ที่นี่ คลิก |
รัฐเคดาห์ : อู่ข้าวอู่น้ำของมาเลเซีย |
Kedah Darul Aman ทอดตัวอยู่ระหว่างเปอร์ลิสทางตอนเหนือ และเปรัค ในตอนใต้ มีสถานะเป็นหนึ่งในรัฐทางเหนือของเขตชายฝั่งมาเลเซีย มีพื้นที่ทั้งหมด 9,425 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากกว่า 1.5 ล้านคน
ด้วยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม รัฐเคดาห์ จึงมีลักษณะแบบชนบทที่ให้สีสันหลากเฉดสี ขึ้นอยู่กับฤดูกาลของการเพาะปลูกข้าว ในเขตชานเมืองจะมองดูเขียวขจีที่สุดในช่วงต้นข้าวเริ่มเติบโต ก่อนจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทองในฤดูเก็บเกี่ยว และกลายเป็นสีน้ำตาลเหมือนสีผืนดินหลังจากเสร็จสิ้นการ เก็บเกี่ยว อาจมีหลายสิ่งซุกซ่อนอยู่เบื้องใต้ผืนนาข้าวที่แผ่กว้าง เพราะเคดาห์เคยเป็นต้นกำเนิดของ อารายธรรมเก่าแก่ซึ่งเพิ่งปรากฏสู่สายตา จากการขุดค้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามแหล่งขุดค้นทางประวัติศาสตร์ภายใน ละออร์สตาร์ คือเมืองหลวง ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ทำการรัฐบาล และที่พำนักของราชวงศ์ เมืองแห่งนี้ เป็นศูนย์กลางการค้าเช่นเดียวกับเกาะลังกาวีที่อยู่ภายใต้อำนาจของเคดาห์ นอกจากนี้ยังมีเมือง กูบัง ปาซู (Kuubang Pasu) ปาดัง เตรัป (Padang Terap) โกตา สตาร์ (Kota Star) ซิค (Sik) ยัน (Yan) กัวลา มูดา (Kuala Muda) บาลิง (Baling) กูลิม (Kulim) บันดาร์ บาฮารู (Bandar Baharu) และ เป็นดัง (Pendang)
ประวัติศาสตร์
บันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ของรัฐเคดาห์ เริ่มต้นในราวศตวรรษที่ 5 บอกเล่าว่าเส้นทางการค้าขายระหว่างตะวันออก และตะวันตกของบรรดาพ่อค้าวาณิชในยุคนั้นได้มาหยุดที่เมืองท่ากัวลา มูดา โดยอาศัย Gunung Jerai ภูเขาสูงที่สุดของเคดาห์เป็นจุดบอกทิศ ซากปรักหักพังของ Candi วัดเก่าแก่ใน หุบเขา Bujang แสดงให้เห็นว่าเคยมีอารยธรรม ฮินดู – พุทธ ในท้องที่นี้ และที่นี่อาจเป็นสถานที่แรกที่เคยค้าขายกับพ่อค้าชาวอินเดีย อาณาจักรแห่งนี้มีความสำคัญเพียงใดยังเป็นที่สงสัย และอาจต้องรอการค้นคว้าวิจัยจากการขุดค้นต่อไประหว่างศตวรรษที่ 7 และ 8 เคดาห์เคยส่งเครื่องบรรณาการให้กับราชวงศ์สุมาตรัน ศีวิชัย (Sumatran Srivijaya) แต่หลังจากการสิ้นสุดราชวงศ์นี้ เคดาห์ ก็กลายเป็นรัฐอาณานิคมของไทย จนถึงศตวรรษที่ 15 ที่มะละกา (Malacca) มีอำนาจ และได้นำความเชื่อในศาสนาอิสลามเข้ามาสู่ท้องที่นี้ เคดาห์เคยเผชิญกับการรุกรานของโปรตุเกสและอะเคห์ (Achehnese) ในศตวรรษที่ 17 แต่ก็ต้องกลับไปเป็นของไทยอีกครั้ง ในปี 1821 เคดาห์ถูกครอบครองโดยไทย แล้วผ่านมือสู่อำนาจของอังกฤษ ใน ค.ศ.1909 สุดท้ายญี่ปุ่นก็เข้ายึดครอง จากนั้นก็ถูกรวมเป็นรัฐหนึ่งของ Malayan Union ก่อนจะรวมกันเป็น Federation of Malaya ใน ค.ศ.1984
เศรษฐกิจ
เคดาห์และรัฐเพื่อนบ้านอย่างเปอร์ลิสเป็นรัฐ “ชามข้าว” ของมาเลเซียด้วยกันทั้งคู่ เนื่องจากให้ผลิตผลถึงกึ่งหนึ่งของความต้องการทั้งประเทศ ขณะที่เคดาห์ยังมีลักษณะโดยรวมเป็นชนบท แต่เมืองหลวงอย่าง อะลออร์สตาร์ กำลังก้าวสู่การพัฒนาให้เป็นเมืองสำคัญระดับชาติ ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจำนวนมากกำลังผลักดันให้รัฐแห่งนี้มุ่งหน้าสู่ศตวรรษที่ 21 และการท่องเที่ยวเป็นรายได้หลักของประเทศ จากการพัฒนาลังกาวีให้เป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวทั่วโลก
ที่พัก
มีโรงแรมรีสอร์ทมากมาย รวมถึงที่พักขนาดกลางและที่พักราคาประหยัดอยู่ในกัวห์, ปันไต เซนัง และปันไตก๊ก รีสอร์ทนั้นมีตั้งแต่บ้านพักไปจนถึงโรงแรมหรูห้าดาว นักท่องเที่ยวแบบแพ็คเกจทัวร์ที่มากับบริษัทนำเที่ยวจะได้เที่ยว และพักอย่างคุ้มค่าที่ลังกาวี
การเดินทาง
เคดาห์ใช้เขตแดนร่วมกับประเทศไทย โดยมีด่านตรวจคนเข้าเมืองอยู่ที่ Bukit Kayu Hitam
เครื่องบิน
สายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ มีเที่ยวบินจากกัวลาลัมเปอร์ มายัง อะลอร์สตาร์ ทุกวัน รวมถึงเที่ยวบินแวะที่ปีนัง หรือ โกตา บาห์รูด้วย
รถยนต์
ทางหลวงสายเหนือ – ใต้ จากกัวลาลัมเปอร์ สู่บูกิต คายู ฮิตัม มีระยะทาง 490 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางด้วยรถยนต์ประมาณ 5 ชั่วโมง
รถโดยสาร
อะลอร์ สตาร์ เป็นชุมทางรถโดยสารของเคดาห์ ซึ่งสถานีขนส่งกลาง (central bus station) อยู่ที่ถนน Jalan langgar มีรถโดยสารของหลายบริษัทให้บริการในจุดหมายในภาคใต้และภาคตะวันตกไปจนถึงบัตเตอร์เวิร์ธ รถโดยสารที่ไปยังบัตเตอร์เวิร์ธออกทุกชั่วโมงระหว่าง 7.00 – 20.00 น. นอกจากนั้นยังมีรถโดยสารไปกัวลาเคดาห์ ซึ่งเป็นที่ตั้งท่าเรือเฟอร์รี่ไปเกาะลังกาวี สถานีขนส่งรถด่วนพิเศษ (main express bus station) อยู่ห่างจากสถานีขนส่งกลางไปทาง
ตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 2 กิโลเมตร ที่นี่เน้นการบริการของรถโดยสารด่วนพิเศษที่เป็นรถโค้ชสู่เมืองทางใต้อย่าง อิโปห์ (Ipoh), กัวลาลัมเปอร์, มะละกา, ยะโฮร์ บาห์รู และสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังมีรถโค้ชด่วนพิเศษที่มุ่งยังเมืองชายฝั่งตะวันออก อย่าง กวนตัน (Kuantan), กัวลา ตรังกานู (Kuala Terengganu) และ โกตา บาห์รู (Kota Bharu) รถด่วนสายเหนือและแท็กซี่ที่ไปอะลอร์สตาร์มีบริการทุกวันโดยออกจาก สถานีปูดูรายา (Puduraya Bus Terminal) ที่กัวลาลัมเปอร์
รถไฟ
อะลอร์สตาร์ ตั้งอยู่บนจุดเชื่อมต่อทางรถไฟ เหนือ – ใต้ และ KTM มีบริการรถไฟประจำวัน ในเส้นทางระหว่างอะลอร์ สตาร์ไปยังเมืองต่างๆ ที่อยู่ในเส้นทาง นอกจากนี้ยังมีรถไฟจากบัตเตอร์เวิร์ธที่ไปยังกรุงเทพฯ แล่นผ่าน อะลอร์สตาร์ และเมืองชายแดนของปาดัง เบซาร์ในรัฐเปอร์ลิส รวมทั้งรถด่วนสายอินเตอร์ที่วิ่งไปถึงหาดใหญ่ และกรุงเทพฯ ซึ่งให้บริการช่วงบ่ายของทุกวัน และตอนเช้าตรู่สำหรับขบวนที่ไปหาดใหญ่ จองตั๋วล่วงหน้าได้ที่สถานีรถไฟทุกแห่งที่มีบริการ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|