เปรัค : รัฐสีเงิน
ของประเทศมาเลเซีย
จากศูนย์กลางอันแสนวุ่นวายอย่าง
เซลังงอร์ มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือสู่
เปรัค ทัศนียภาพจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปจากชุมชนเมือง สู่ทิวทัศน์กว้างไกล และพื้นที่เกษตกรรมที่พบเห็นได้ทั่วไป อีกทั้งพื้นที่เพาะปลูกสวยงาม และพืชพันธุ์เกษตรเขียวขจีตัดกับพื้นป่า และเทือกเขาหินปูนมากมายที่อยู่เบื้องหลัง
ด้วยเนื้อที่กว่า 21,000 ตารางกิโลเมตร
เปรัคตั้งอยู่ตรงกลางระหว่าง
เคดาห์ทางทิศเหนือ และ
เซอลังงอร์ทางทิศใต้ มีเทือกเขาสำคัญตัดผ่านรัฐ ทอดตัวยาวเคียงข้างที่ราบตามแนวชายฝั่งทะเล
เปรัคมักถูกกล่าวถึงในฐานะเมืองงาม ด้วยทัศนียภาพ ที่สวยงามตรึงใจไร้กาลเวลา
เปรัคแบ่งออกเป็น 9 เขต มีเมืองสำคัญรวมถึง อิโปห์ (Ipoh) กัวลา คังซาร์ (Kuala Kangsar) ไตปิง เตลุก อินตาน (Taiping Teluk Intan) และลูมุต (Lumut) อิโปห์ นั้นเป็นศูนย์กลางการปกครอง และเมืองหลวงของรัฐ ในขณะที่
กัวลาคังซาร์ เป็นสถานที่พำนักของเจ้านคร แต่ละพื้นที่ใน
เปรัค มีความโดดเด่น สวยงาม และประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ทั้งยังเพียบพร้อมไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ รวมถึงสถาปัตยกรรมแก่สไตล์อังโกล มาเลย์ และคฤหาสน์หลังงามแบบจีน อาคารโคโลเนียล ถ้ำหินปูนดึกดำบรรพ์ วัด และวิหาร หรือเนินเขาที่มีทัศนียภาพแสนสวย เป็นต้นว่า บูกิต ลารุต (Bukit Larut) หรือ Maxwell Hill นักท่องเที่ยวที่ช่างสังเกตอาจค้นพบความแตกต่างระหว่างวิถีชีวิตของที่นี่ กับภาคกลาง ในขณะที่มีวิถีชีวิตแบบคนเมือง แต่ก็ยังมีความสงบ และเปรัคได้ชื่อว่าเป็นศูนย์รวมอาหารรสเลิศติดอันดับต้นๆ ของภูมิภาค และมีผู้คนที่สัญจรผ่านมามักแวะชิมอาหาร ทั้งจากร้านที่เปิดให้บริการมากมาย และศูนย์รวมอาหารภายในรัฐอยู่เป็นนิจ
เปรัคมีพื้นที่ชายฝั่งตะวันตกติดกับแหลมมะละกา และไม่ไกลจากชายฝั่ง ก็มีเกาะแก่งชายหาด ที่ใกล้ที่สุดเห็นจะเป็น
เกาะปังกอร์ เกาะแห่งนี้มีความโดดเด่นและแตกต่าง อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสประสบการณ์ผ่านกิจกรรมมากมาย ทั้งยังเต็มไปด้วยหาดทรายที่สวยงามอีกมาก
ประวัติศาสตร์
รัฐเปรัคเป็นที่รู้จักกันดีในแง่อารยธรรมมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 เรื่อยมาจนถึงศตวรรษที่ 18 ด้วยประวัติศาสตร์ และการเมืองที่เต็มไปด้วยสีสัน และการต่อสู้แย่งชิงอำนาจ รัฐบาลชุดแรกในสมัยศตวรรษที่ 15 อยู่ที่บรูอาส (Bruas) และมันจุง (Manjung) ระบอบสุลต่านที่มีอยู่จนปัจจุบัน สืบทอดมาตั้งแต่ปี 1528 เมื่อสุลต่าน
มุสซาฟฟาร์โอรสองค์แรกของสุลต่านแห่งมะละกาองค์ก่อน ได้รับสถาปนาอาณาจักรของตนขึ้นที่ชายฝั่งของแม่น้ำเปรัค
เปรัคอุดมไปด้วยดีบุกซึ่งเป็นสายสัมพันธ์อันดีมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 16 – 18 กับประเทศไทยซึ่งอยู่ติดชายแดนทางตอนเหนือและอเชนีส (Achenese) และบูกิต (Bukit) ทางตอนใต้ ในขณะที่ชาวดัตซ์เคยเข้ายึดครองสิทธิทางการค้าดีบุกเช่นกัน หากแต่ทำไม่สำเร็จ ปริมาณมหาศาลของดีบุกที่ทับถม ทำให้เกิดการต่อสู้เพื่อแย่งชิงเหมืองในหมู่ผู้ทำงานเหมืองชาวจีน สงครามนอกกฎหมายอันยาวนาน และอำนาจที่แย่งชิงกันระหว่างผู้มีชัยในบังลังก์แห่งเปรัค สุลต่านอับดุลลาห์ (Sultan Abdullah) และราชา อิสมาอิล (Raja Ismail) ส่งผลให้คณะปกครองอังกฤษในสมัยนั้นเข้ามาแทรกแซงได้ และเมื่อมีครั้งที่มีการลงนามในสนธิสัญญาปังกอร์ (Pangkok Treaty) เมื่อปี 1874 คณะปกครองอังกฤษโดยเซอร์ แอนดริว คลากส์ (Sir Andrew Clarke) ได้สถาปนาสุลต่านอับดุลลาห์ ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองรัฐภายใต้ข้อตกลงให้อังกฤษเข้ามาอยู่อาศัยได้
ต่อจากนั้นไม่นาน อังกฤษก็แต่งตั้งคณะปกครองรัฐเพื่อสุลต่าน และเจดับบลิว ดับบลิว เบิร์ช (JWW Birch) หัวหน้าคณะปกครองอังกฤษ ในยุคแรกถูกลอบสังหารเมื่อปี 1875 เนื่องจากความไม่พอใจที่เขาเอนเอียงไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อังกฤษจึงส่งกองกำลังทหารเพื่อดำรงการควบคุม และขับไล่สุลต่านอับดุลลาห์ ผู้รับช่วงต่อจากเบิร์ช คือ ฮิวจ์ ลอว์ (Hugh Low) ที่ทำงานได้มากกว่า เข้าควบคุมเหมืองทั้งหมด จัดระบบการปกครองหัวหน้ากลุ่ม กำหนดการจัดเก็บภาษี ปรับปรุงและระบบจัดการต่างๆของรัฐ รัฐเปรัคจึงรุ่งเรืองขึ้นภายใต้การปกครองของเขา จากนั้นเริ่มมีการก่อสร้างทางรถไฟสายแรกเริ่มจากไทปิง ไปสิ้นสุดที่ท่าเรือ ทำให้การลำเลียงดีบุกสู่ท่าเรือเป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น ส่งผลถึงการเติบโตในส่วนการผลิตดีบุก ในปี 1896 เปรัคเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาเลเซียจวบจนกระทั่งยุคการปกครองของญี่ปุ่น
เศรษฐกิจ
เปรัค มีความหมายว่า ‘เงิน’ ในภาษามาเลย์ ด้วยมีสินแร่เงิน และดีบุกซึ่งเป็นที่มาความมั่งคั่งของรัฐแห่งนี้ ประชากรที่มีอยู่เพียงสองล้านคน และพื้นที่ซึ่งมั่งคั่งด้วยดีบุก รู้จักกันในนามภูเขากินตา (Kinta Valley) เป็นอุตสาหกรรมหลักมาร่วมศตวรรษ 80 เศรษฐกิจหันเหทิศทางไปสู่กสิกรรม โรงงาน การก่อสร้าง การค้าและพาณิชย์ มีภาวะการเติบโตของระบบสาธารณูปโภค และให้ความสำคัญกับการประมง ป่าไม้ และอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยว อิโปห์เป็นหนึ่งในเมืองที่เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดร็ว จนกลายเป็นศูนย์กลางแห่งอุตสาหกรรมการลงทุนทางธุรกิจ และการศึกษา
การเดินทาง
อิโปห์ซึ่งเป็นเมืองหลวงอยุ่ห่างจากกัวลาลัมเปอร์ ประมาณ 205 กิโลเมตรและห่างจากปีนัง ประมาณ 165 กิโลเมตร ซึ่งเมืองแห่งนี้เชื่อมต่อการเดินทางที่สะดวกสบายกับภูมิภาคอื่นๆ โดยเดินทางทั้งทาง
รถยนต์ รถไฟ และทางอากาศ
เครื่องบิน
อากาศยานซุลต่าน อัสลันชาห์ สามารถรองรับเครื่องบินขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง
มาเลเซียแอร์ไลน์มีเที่ยวบินจากปีนัง และผ่านทางกัวลาลัมเปอร์ จากสนามบิน รถประจำทางและแท๊กซี่ให้บริการสู่ตัวเมือง
รถยนตร์
มีรถแท๊กซี่ให้บริการจากโคตาบารู (Kota Baru) อะลอร์ สตาร์ ( Alor Star ) ปีนัง (Penang) ไทปิง (Taiping) และกัวลา คังซาร์ (Kuala Kangsar) จากทางเหนือ และจากคาเมรอน ไฮแลนด์ (Cameron Highland) เตลุก อินตาน (Teluk intan) ตันจุง มาลิม (Tanjung Malim) และ กัวลาลัมเปอร์ (kuala Lumpur) จากทิศใต้สู่อิโปร์ อัตราค่าโดยสารตั้งแต่ 6-20 ริงกิตขึ้นอยู่กับ ระยะทาง รถแท็กซี่จะจอดรอจนกระทั่งคนเต็มจึงออกรถ
รถประจำทาง
มีรถโดยสารประจำทาง จากกัวลาลัมเปอร์ และบัตเตอร์เวอร์ธส สู่เมดานเทอร์มินัลในอิโปร์ มีบริการ รถประจำทางจากบริษัทเอกชนหลายบริษัท เดินทางจากเหนือสุ่ใต้ และจากหลากหลายพื้นที่ในประเทศสู่อิโปร์ คลอบคลุมเส้นทางเช่น บัตเตอร์เวอร์ธ โคตา บาห์รู กัวลาลัมเปอร์ และเตลุก อินตานทางตอนใต้ บริการหลักๆ จากรถประจำทางเอกชน เช่น Express Nasional, SPT, Sri Maju, Plusliner และ Nice
รถไฟ
รถไฟสายเหนือบริหางานโดยการรถไฟมาลายัน หรือ KTMB (Keretapi Tanah Melayu Berhad) หยุดรับส่งผู้โดยสารตามเมืองสำคัญในเปรัค เช่น ตันจง มาลิม (Tanjong Malim) บาตู กาจาห์ (Batu Gajah) อิโปห์ (Ipoh) กัวลา คังซาร์ (Kuala Kangsar) ไทปิง (Taiping)
และปะริตบุนตาร์ (Parit Bunta)ขอขอบคุณข้อมูลจากการท่องเที่ยวมาเลเซียประจำประเทศไทย:
http://sawasdeemalaysia.com/destination_state_perak.php