สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เที่ยวสนุกทัวร์ โทรสายด่วน 085 384 0228 หรือดาวโหลดโปรแกรมทัวร์นี้ ที่นี่ คลิก |
รัฐปีนัง : รัฐทางภาคเหนือของประเทศมาเลเซีย |
ปีนัง ถูกกล่าวถึงเสมอในนามไข่มุกแห่งตะวันออก ในฐานะเมืองที่มีความสวยงาม และโรแมนติกที่สุดเมืองหนึ่งของภาคตะวันออก ชื่อของปีนังมาจากคำว่า ปีนัง (Pinang) แปลว่า ต้นหมากซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นต้นไม้ที่พบมากในเกาะแห่งนี้ ปีนัง ได้รับการสถาปนาให้เป็นที่มั่นทางการค้าของอังกฤษเมืองแรก ในภูมิภาคตะวันออกไกล เมื่อปี 1786 ทุกวันนี้ ปีนัง กลายเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่ผสานเอาวัฒนธรรมสองซีกโลกไว้ด้วยกันอย่างแยกไม่ออก มันกลายเป็นเสน่ห์ประหลาดที่ดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวมาเยือนเมืองแห่งนี้ไม่หยุดหย่อน รัฐปีนัง ประกอบไปด้วยเกาะปีนัง และแผ่นดินที่มีความยาวซึ่งรู้จักในนาม Seberang Parai (ในอดีตคือ จังหวัด Wellesley) เชื่อมโยงพื้นที่สองส่วนไว้ด้วยสะพานปีนัง ซึ่งเป็นสะพานที่ยาวที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ด้วยความยาว 13.5 กิโลเมตร และนอกจากสะพานปีนัง ซึ่งเป็นทางเชื่อมสายหลักแล้ว ยังสามารถเดินทางสู่เกาะปีนังโดยใช้บริการเรือข้ามฟากได้อีกด้วยบนเกาะปีนังมี จอร์จทาวน์ เป็นเมืองหลวง และจุดศูนย์กลางอันร่ำรวย ด้วยประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ในขณะที่ปีนังฉายแสงอันเต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวา และทันสมัยด้วยการพัฒนาไปข้างหน้าอย่างไม่รู้จบ แต่สถานที่มากมายบนเกาะปีนัง ก็ยังรักษาความเป็นเอกลักษณ์ที่สะท้อนถึงวานวันในอดีต จนทำให้ปีนังเป็นสถานที่สุดพิเศษหลากอารมณ์ ทางเดินเล็กๆ ริมถนน สามล้อ วิหาร หรือแม้แต่พ่อค้า แม่ค้าที่กำลังวุ่นวายสาละวนอยู่กับหน้าที่ของตัวเอง ภาพเหล่านี้ดูจะสะท้อนความเป็นอดีต ปีนัง ยังเป็นสวรรค์สำหรับนักช้อปไม่ว่าจะเป็นตลาดของใหม่ หรือของสะสมโบราณ นักท่องเที่ยวสามารถมองหาสินค้าในราคาที่น่าพึงพอใจ สินค้าที่ได้รับความนิยมอย่าง กล้องถ่ายรูป อุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็คทรอนิกส์ เสื้อผ้า บาติก ของที่ระลึก ของเก่า และของสะสม รวมทั้งของกระจุกกระจิก มีให้เลือกซื้ออย่างจุใจ เกาะแห่งนี้ยังโด่งดังเรื่องอาหารชั้นเลิศของภูมิภาค ไล่เรื่อยมาตั้งแต่อาหารต้นตำหรับ Nyonya ไปจนถึงอาหารจานโปรดแบบพื้นเมือง ที่หารับประทานได้ง่ายตามร้านข้างทาง อย่าง นาซิ กันดาร์ (Nasi Kandar) ชาร์ ก๋วยเตี๋ยว (Char Kway Teaow) หรือปีนัง ลักซา (Penang Laksa) และว่ากันว่ารสชาติอาหารที่ว่าทั้งหมดนั้น ช่างแตกต่างกันและหลากหลายกว่าที่พบในรัฐอื่นๆ ของมาเลเซียอย่างสิ้นเชิง ประวัติศาสตร์ปีนัง เมืองหน้าด่านของอังกฤษแห่งนี้ ถูกค้นพบโดย กัปตันฟรานซิส ไลท์ (Captain Fransis Light) ในปี ค.ศ.1786 ซึ่งกัปตันไลท์ได้รับมอบเกาะปีนัง ในนามของบริษัทอีสต์ อินเดียคอมพานี (East India Company) ด้วยการทำสัญญากับสุลต่านแห่งรัฐเคดาห์ (Sultan of Kedah) เพื่อปกป้องแผ่นดินแห่งนี้จากสยามประเทศ เมื่อกัปตันไลท์มาถึง เกาะแห่งนี้มีประชากรบางตา และมีเรื่องเล่าว่าตอนที่กัปตันไลท์มาถึง เค้าได้ใช้ปืนใหญ่ยิงเอาก้อนทองคำเข้าไปในเมือง เพื่อปลุกระดมให้ชนชั้นแรงงานลุกขึ้นมาสู้ก่อนที่จะยึดครองเกาะปีนังเขาได้เปลี่ยนชื่อเกาะเสียใหม่เป็น Prince of Wales Island เนื่องด้วยเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นในวันเกิดของเจ้าชายแห่งเวลล์ ไม่นานนักกัปตันไลท์ก็สถาปนาจอร์จทาวน์ และได้รับแผ่นดินผืนยาวบนแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ติดกับเกาะปีนัง ซึ่งต่อมารู้จักกันในนามจังหวัดเวลเลสลี่ (Wellesley) จากนั้นจึงค่อยๆสถาปนาจอร์จทาวน์ให้เป็นเมืองท่าปลดภาษี และปลุกระดมคนพื้นเมืองให้จับจองพื้นที่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากแผ่นดินที่มีพลเมืองเบาบาง เพิ่มจำนวนประชากร 10,000 คนเมื่อช่วงเปลี่ยนของศตวรรษปี 1805 ปีนังเป็นอิสระ และไม่นานนักก็มีการตั้งชุดบริหารแบบรัฐบาลอินเดีย ซึ่งระบบการปกครองที่มีเค้าโครงเดียวกับเมืองมาดราส และบอมเบย์ จากนั้นในปี 1826 มีการถ่ายโอนมาจากสิงคโปร์ และมะละกา ที่ตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรเริ่มขึ้น เศรษฐกิจเริ่มตื่นตัว จอร์จทาวน์พัฒนาอย่างรวดเร็ว และมีการเปิดสอนภาษาอังกฤษเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปี 1816 ด้านเศรษฐกิจของปีนัง ปีนังมีระบบเศรษฐกิจแบบผสม ทั้งอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เกษตรกรรม ทั้งอุตสาหกรรมไฮเทค ก็ได้รับการพัฒนา และลงทุนอย่างต่อเนื่องจากบริษัทนานาชาติ เป็นฐานการผลิต ซอฟแวร์ฮาร์ดแวร์ และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ อีกทั้งอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ยังได้รับการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เนื่องจากปีนังเป็นจุดนัดพบสำคัญในภาคพื้นเอเชีย สำหรับการประชุมสำคัญๆ ในแขนงต่างๆ ปีนัง ยังเป็นทั้งศูนย์การจัดนิทรรศการ และการแสดง ด้านเกษตรกรรมปีนังสร้างผลผลิตปาล์มน้ำมัน ยางพารา และผลไม้ หลากประเภท ปีนังยังมีท่าเรือน้ำลึกที่เป็นด่านการค้าอันเป็นไปด้วยศักยภาพ และเป็นประตูเชื่อมต่อมาเลเซียกับอีกกว่า 200 ท่าเรือนานาชาติทั่วโลก การเดินทางไปเกาะปีนัง ท่าอากาศยาน ปีนัง มีท่าอากาศยานหลักคือ ท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง (Penang Internation Airport) ซึ่งอยู่ห่างใจกลางเมืองออกไปประมาณ 20 กิโลเมตร การเดินทางสู่ปีนังโดยทางอากาศสามารถทำได้ง่ายๆ โดยเลือกเที่ยวบินจากหลากหลายเมืองหลักของแต่ละภูมิภาค มีเที่ยวบินจากสิงคโปร์ กรุงเทพฯ หาดใหญ่ ภูเก็ต เมดาน มาดราส และจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ก็มีเที่ยวบินสู่ปีนังทุกวันโดยสายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ (MAS) แท็กซี่สนามบิน แท็กซี่และลิมูซีนให้บริการจากสนามบินสู่ตัวเมือง ด้วยระบบคูปอง และค่าโดยสารราคาคงที่ จากสนามบินสู่จุดหมายปลายทาง โดยผู้โดยสารซื้อคูปองค่าโดยสารได้ท ี่เคาน์เตอร์บริการรถแท็กซี่ภายในสนามบินก่อนขึ้นรถ ราคาลิมูซีนจะแพงกว่าแท็กซี่ ถนน มีสะพานปีนังซึ่งเชื่อมต่อเกาะปีนังเข้ากับแผ่นดินใหญ่ของมาเลเซีย ผู้เดินทางโดยใช้สะพานปีนังชำระค่าผ่านทางเที่ยวเดียวที่ด่านเก็บค่าผ่านทาง เซบารัง เพไร (Sebaran Parai) อยู่บนแผ่นดินใหญ่ก่อนขึ้นสะพาน และหากเดินทางจากเกาะปีนังสู่แผ่นดินใหญ่ก็ไม่จำเป็นต้องชำระค่าผ่านทาง รถไฟ การเดินทางสู่ปีนังโดยรถไฟ ใช้เส้นทางรถไฟสายหลักจากใต้สู่เหนือสุดที่สถานีบัตเตอร์เวอร์ธ การเดินทางโดยรถไฟสะดวกสบายและยังเป็นโอกาสดีที่จะได้ชื่นชมกับบรรยากาศและทิวทัศน์ชนบทสองข้างทาง จากกัวลาลัมเปอร์ถึงบัตเตอร์เวอร์ธใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมงและมีตู้โดยสารติดแอร์สำหรับตั๋วชั้นหนึ่งและชั้นสอง นอกจากนั้นจากสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ ยังทีท่าเรือเฟอร์รี่เพื่อจับเรืองข้ามไปสู่เกาะปีนังได้อีกเช่นกัน เรือเฟอร์รี่ มีเรือเฟอร์รี่ให้บริการจากท่าบัตเตอร์เวอร์ธและเกาะปีนัง ซึ่งสามารถเดินทางได้ แม้จะมีพาหนะไปด้วย ตั๋วเรือข้ามฟากสามารถซื้อได้ที่ท่าเรือบัตเตอร์เวอร์ธ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|