สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เที่ยวสนุกทัวร์ โทรสายด่วน 085 384 0228 หรือดาวโหลดโปรแกรมทัวร์นี้ ที่นี่ คลิก |
รัฐตรังกานู มาเลเซีย : ดินแดนหาดสวรรค์
|
รัฐตรังกานู มาเลเซีย : ดินแดนหาดสวรรค์
เมืองตรังกานู ดารุล อิมาน (Terengganu Darul Iman) ครอบคลุมพื้นที่กว่า 12,955 ตารางกิโลเมตร พร้อมด้วยประชากรกว่าล้านคน มีพื้นที่ติดทิศเหนือติดรัฐกลันตัน และติดกับรัฐปาหังทางทิศใต้ และตะวันตกเเฉียงใต้ดินแดนแห่งหาดทรายแห่งนี้มีพื้นที่ชายฝั่งยาวถึง 240 กิโลเมตร โดยหันหน้าออกไปทางทะเลจีนใต้ มีการทำประมงเป็นอาชีพหลัก และมีเมืองหลวงชื่อว่ากัวลาตรังกานู และเช่นเดียวกับกลันตัน รัฐตรังกานูเป็นอีกรัฐหนึ่งที่มีวัฒนธรรมมาเลย์อยู่เต็มเปี่ยม และยังมีกิจกรรมพื้นเมืองเช่น การเล่นว่าว เล่นลูกข่าง และทำผ้าบาติกให้เห็นโดยทั่วไปตรังกานูนับเป็นแดนสวรรค์สำหรับผู้ที่ชื่นชอบชายหาด เนื่องจากจุดเด่นของที่นี่ก็คือ หาดทราย เต่ามะเฟือง และหมู่เกาะเปอร์ฮันเตียน (Perhentian Island) ซึ่งล้อมรอบไปด้วยน้ำทะเลสีน้ำเงินใส สำหรับเต่ามะเฟืองนั้น จะมาพักที่ชายหาดของตรังกานูปีละครั้ง จากเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ซึ่งส่วนใหญ่และจะพบได้ที่หาด Rantau Abangอย่างไรก็ตามส่วนที่ดีที่สุดของตรังกานูคงจะเป็นอะไรไปไม่ได้ นอกจากผู้คนที่ดำเนินชีวิตบนทางสายกลางอย่างสงบสุขอันงดงามราวภาพวาด ที่ทั้งศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรมยังมีบทบาทสำคัญไม่เสื่อมคลาย นอกจากนี้ยังขึ้นชื่อในเรื่องของศิลปะ หัตถกรรมและการต่อเรือ
ประวัติศาสตร์รัฐตรังกานู มาเลเซีย
จารึกประวัติศาสตร์ย้อนกลับไปใรปี ค.ศ.1303 ซึ่งพบที่กัวลาบารังบ่งชี้ว่า ในยุคนั้นได้มีรัฐอิสลามเกิดขึ้นตรังกานู ขณะเดียว ในทางเหนือของตรังกานูก็ต้องส่งส่วยให้กับประเทศสยาม อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเกิดการยึดครองอำนาจของสุลต่านมะละกาในศตวรรษที่ 14 ตรังกานูจึงกลายเป็นเมืองบริวารของมะละกาในที่สุด อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ก็ไม่ได้ทำให้ตรังกานูเลิกติดต่อค้าขายกับประเทศสยาม และจีนแต่อย่างไร ตรังกานูได้รับสถาปนาให้เป็นรัฐในปี ค.ศ.1724 โดยมีสุลต่านชัยนัล อะบิดีน พระเชษฐาขององค์สุลต่านแห่งยะโฮร์ ในอดีตองค์หนึ่ง เป็นเจ้าเมืององค์แรก ตรังกานูมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเมืองยะโฮร์ ได้เพียงไม่นาน ก็ตกเป็นเมืองบริวารของประเทศสยาม ในช่วงศตวรรษที่ 19 ซึ่งสุลต่านของตรังกานู ในเวลานั้นคือสุลต่านบาคินตะ โอมาร์ ผู้ซึ่งให้สัญญากับประชาชนของพระองค์ว่า ภายใต้การปกครองของพระองค์ ประเทศสยามจะไม่สามารถมาก้าวก่ายในเรื่องของการปกครองและทรัพยากรได้ในปี ค.ศ.1909 สัญญาอังกฤษไทย ทำให้อำนาจการปกครองตกไปอยู่ในมือของอังกฤษอยู่นาน จนกระทั่งญี่ปุ่นเข้ามายึดครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และหลังจากสงคราม ตรังกานูกลับมาอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษอีกครั้ง จนกระทั่งประเทศมาเลเซียได้รับอิสรภาพในปีค.ศ.1957
เศรษฐกิจรัฐตรังกานู มาเลเซีย
แต่เดิมอาชีพหลักของรัฐตรังกานู คือ การทำประมง อย่างไรก็ตามในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา การติดตั้งแท่นผลิต และวางท่อน้ำมันนอกชายฝั่งในประเทศจีนใต้ ใกล้กับตรังกานู เป็นผลให้เกิดการกระตุ้นทางเศรษฐกิ จและทำให้เมืองกัวลาตรังกานู เปลี่ยนจากเมืองอันเงียบเหงากลายเป็นเมืองที่สวยงามทันสมัย และการสร้างโรงกลั่นน้ำมันและก๊าซ สร้างขึ้นในเมือง Kerteh และ Paka ส่วนอุตสาหกรรมก็ได้แก่ อุตสาหกรรมครัวเรือน ต่อเรือ และการเกษตรกร นอกจากนี้ ทางรัฐยังพยายามที่จะส่งเสริมให้มีธุรกิจอื่น ที่นิคมอุตสาหกรรม Dungun และ Kermaman ที่ตั้งขึ้นในกัวลาตรังกานู
การเดินทาง
เครื่องบิน
สายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ มีเที่ยวบินให้บริการจากกัวลาลัมเปอร์มายังสนามบินสุลต่าน มะหะหมัด ในกัวลาตรังกานูเป็นประจำทุกวัน และมีบริการเชื่อมต่อจากรัฐอื่นด้วยเช่นกัน
ถนนมีถนนเรียบชายฝั่งเชื่อมมาจากทางเหนือของโกตาบารู และทางใต้ของยะโฮร์ บาห์รู และจากกัวลาลัมเปอร์ต้องวิ่งมาทางหลวง Karak มาเมืองกวนตัง และขับต่อขึ้นไปเหนือ ไปตามถนนเรียบชายฝั่งถึงกัวลาตรังกานู โดยใช้เวลาในการเดินทาง 8 ชั่วโมงนอกจากนี้ยังมีรถด่วนโดยสารและแท็กซี่ให้บริการจากสิงค์โปร์ กัวลาลัมเปอร์ อิโปห์ ปีนัง โกตาบารู และยะโฮร์ บาห์รู ถึงกัวลาตรังกานู และมีสถานีรถโดยสารกลางที่ Jalan Sultan Zainal Abidin ในกัวลาตรังกานู ซึ่งไม่ไกลจากอู่แท็กซี่นัก นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางภายในเมือง หรือออกไปยังเมืองรอบนอกของรัฐได้โดยรถโดยสารประจำ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|