สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เที่ยวสนุกทัวร์ โทรสายด่วน 085 384 0228 หรือดาวโหลดโปรแกรมทัวร์นี้ ที่นี่ คลิก |
รัฐซาบาห์ มาเลเซีย: ดินแดนใต้สายลม
|
รัฐซาบาห์ มาเลเซีย: ดินแดนใต้สายลม
ซาบาห์ ได้ชื่อว่าเป็น “ดินแดนใต้สายลม” เนื่องจากมีพื้นที่ตั้งอยู่ใต้แนวพายุใต้ฝุ่น ซาบาห์กินพื้นที่ฝั่งตะวันออกของบอร์เนียวเหนือ และเป็นรัฐที่ใช่เป็นอันดับสองของมาเลเซียตะวันออก มีพื้นที่ครอบคลุมถึง 74,500 ตารางกิโลเมตร โดยติดทะเลจีนใต้ในฝั่งตะวันตก และติดทะเลซูลู และCalabes ในฝั่งตะวันออก และมีแนวชายฝั่งยาวประมาณ 1,440 กิโลเมตรซาบาห์เป็นเมืองภูเขา และเต็มไปด้วยป่าฝน เขตร้อนอันอุดมสมบูรณ์ มีประชากรเกือบ 2 ล้านคน ซึ่งมาจากเชื้อชาติที่ต่างกันถึง 32 เผ่าพันธุ์ด้วยกันและมีเมืองหลวงคือ โกตาคินาบาลู ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบลุ่ม และเป็นที่จุดศูนย์กลางการค้าขาย และการปกครองโกตาคินาบาลู นับเป็นประตูฝั่งตะวันออกของมาเลเซีย โดยมีเส้นทางอากาศเชื่อมตรงไปยังบรูไน ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ อินโดนีเซียและไต้หวัน
ประวัติศาสตร์
ในศตวรรษที่ 9 แห่งคริสตกาล ซาบาห์อยู่ภายใต้การปกครองของหัวหน้าเผ่า ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว จะรักษาอำนาจในเขตแดนของตนเองทุกพื้นที่ ในเวลานั้นซาบาห์มีการติดต่อซื้อขายกับจีน สเปน และโปรตุเกส ในเวลาต่อมา ในศตวรรษที่ 15 ซาบาห์ตกเป็นเมืองบริวารของสุลต่านแห่งบรูไนในปี ค.ศ.1704 องค์สุลต่านแห่งบรูไน ตัดสินใจยกพื้นที่ฝั่งตะวันออกของอ่าว Marudu ให้กับสุลต่านแห่งซูลู ต่อมาในต้นปี ค.ศ.1880 พ่อค้าชาวอเมริกันนามว่า โมเสสได้รับการสัมปทานเช่าซาบาห์จากบรูไน อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมา สัญญาเช่าตกไปอยู่ในมือของอัลเฟรด เดนท์ ชาวอังกฤษซึ่งเขาก็ได้ก่อตั้งบริษัท นอร์ธ บอร์เนียว ชาร์เตอร์ คอมพานี ขึ้นในปี
ค.ศ.1881 และเซ็นสนธิสัญญากับบรูไนและซูลู เปลี่ยนจากสัญญาเช่าให้เป็นสัญญามอบดินแดน และบริษัท นอร์ธ บอร์เนียว ของเดนท์ก็ได้ปกครองดินแดนเรื่อยมา จนกระทั่งญี่ปุ่นเข้ามารุกราน หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ซาบาห์ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษจนกระทั่งได้รับอิสระ และได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซียใน ค.ศ.1963
เศรษฐกิจ
ซาบาห์มีเศษฐกิจหลักมาจากการเกษตรกร อุตสาหกรรมป่าไม้ อุตสาหกรรมการผลิต การท่องเที่ยวและการส่งออกน้ำมันปาล์ม โกโก็ ถั่วยาง ไม้ท่อน ไม้แปรรูปและน้ำมันดิบ
ประชากร
ซาบาห์มีประชากรพื้นเมืองสามกลุ่มหลัก ได้แก่ Kadazan – Dusum, Murut และ Bajau
โดยประชากรเชื้อสาย Kadazan – Dusum มีจำนวนหนึ่งในสามของประชากทั้งหมด และอาศัยอยู่บริเวณที่ราบตอนกลางของรัฐ ส่วนใหญ่แล้วประชากรกลุ่มนี้จะปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่หันไปทำมาค้าขายอย่างอื่น ทั้งนี้การเก็บเกี่ยวข้าว เป็นพิธีการที่สำคัญเกี่ยวพันกับพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งนำโดยนักบวชหญิงที่เรียกว่าโบโบฮิซานสำหรับชนเผ่า Murut ซึ่งอาศัยอยู่ในแถบตอนกลางของรัฐใกล้กับชายแดนซาราวัค และ กาลิมันตันมีอาชีพหลักคือทำการเกษตรกร และล่าสัตว์ ทั้งนี้ยังมีชาว Murut จำนวนมากที่ยังอาศัยในเรือนแถวแบบโบราณ การแต่งงานของชาว Murut มีพิธีการมากมายซับซ้อนซึ่งจะทำควบคู่ไปกับการเฉลิมฉลอง
ชนเผ่า Bajau ซึ่งมีจำนวนมากเป็นอันดับสองส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งตะวันออกและตะวันตก โดยชาว Bajau ทีอยู่แถบฝั่งตะวันออกจะอาศัยอยู่ในทะเลและจะขึ้นฝั่งมาเพื่อฝั่งศพคนตายเท่านั้น สวนชาว Bajau ในเขตฝั่งตัวันตกมีอาชีพหลักคือทำนาและขึ้นชื่อในเรื่องของการขี่ม้า และในเวลาที่มีงานเทศกาลหรืองานเฉลิมฉลองการแต่งตัวตามแบบ “คาวบอยแห่งตะวันออก” ก็ยิ่งเพิ่มบรรยากาศแห่งความเป็นซาบาห์ให้กับงานมากขึ้น
การเดินทาง
เครื่องบิน
สายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ มีเที่ยวบินให้บริการกัวลาลัมเปอร์ ยะโฮร์ บาห์รู และกูชิง ไปยังโกตาคินาบาลูเป็นประจำ นอกจากนี้ยังมีสายการบินอื่นให้บริการเที่ยวบินจากสิงค์โปร ยรูไน จาการ์ตา มะนิลา ฮ่องกงและไทเป
รถยนต์
ทางรัฐวางระบบถนนไว้อย่างดี มีถนนเชื่อมระหว่างเมืองสำคัญ มีรถด่วนโดยสารให้บริการไปเมืองส่วนใหญ่ และมีรถโดยสารขนาดเล็กให้บริการในเส้นทางสายสั้น และภายในเขตเมือง ในการท่องเที่ยวโดยรอบมีรถแท็กซี่ รถโดยสารขนาดเล็ก รถโดยสารปกติและเรือให้บริการ สำหรับการเดินทางออกไปยังเมืองที่มีระยะทางไกล สายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ เปิดให้บริการเที่ยวบินในเกาะลาบวน Lahad Datu และ Tawau เป็นประจำทุกวัน
รถไฟ
มีรถไฟเปิดให้บริการจาก Beaufort และทางใต้ของ Tenom แต่การคมนาคมทางรถไฟ ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
แม่น้ำ
เขตตอนกลางของรัฐใช้แม่น้ำแทนถนน เชื่อมระหว่างชุมชนและหมู่บ้านริมน้ำ โดยใช้เรือสำปั้น (เรื่อเล็ก) หรือเรือใหญ่ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|